วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 ข้อมูล สารสนเทศ และการจัดการ

2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ 
       1) ข้อมูล
               ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือมีลักษณะหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น บันทึกข้อความ รายงานการประชุม ข้อมูลบนหน้าเว็บเพจ เหตุการณ์ต่างๆที่พบเห็น เป็นต้น

       2) สารสนเทศ 
                สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งถูกต้อง แม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้  เช่น การหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวันเพื่อนำไปวิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น  เป็นต้น
      3) ลักษณะของข้อมูลที่ดี
                ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ  มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น ชื่อ-ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนนักเรียน รายงาน บันทึกการเรียน ปริมาณระยะทาง เป็นต้น โดยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
                 3.1 มีความถูกต้องและแม่นยำ  เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก  เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้
                 3.2 มีความสมบูรณ์ครบถ้วน  ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์กระชับและชัดเจนก็จะทำให้ข้อมูลนั้นมีคุณภาพ เกิดความน่าเชื่อถือ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นได้เต็มประสิทธิภาพ
                 3.3 ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นปัจจุบัน  ข้อมูลที่มีความถูกต้อง สด ใหม่ และทันเหตุการณ์ ทำให้ผู้ได้เปรียบคู่แข่ง อย่างมาก เช่น การรายงานข่าวด่วน เป็นต้น ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความถูกต้องและสมบูรณ์ด้วย
                 3.4 ความสอดคล้องของข้อมูล  การเก็บรวบรวมข้อมูล  ควรวางแผนหรือสรุปเป็นหัวข้อตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความตองการของผู้ใช้มากที่สุด  


4) ชนิดและลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
                4.1 ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (numeric data) ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำไปคำนวนได้ ซึ่งเขียนได้หลายรูปแบบคือ
                       - เลขจำนวนเต็ม คือ ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น -3, -2, -1, 0, 1, 2, 3  เป็นต้น

                        - เลขทศนิยม คือ ตัวเลขที่มีจุทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 4.00 หรือ จำนวนที่มีเศษ เป็นทศนิยมก็ได้ เช่น 3.22, 4.25, 2.35, 5.245, 354.54,  435.545, -45.679 เป็นต้น

                              เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ 
                              ก) แบบที่ใช้ทั่วไป 
                              ข) แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์
                 4.2 ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (character data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษรและไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่นำมาเรียงต่อกันให้มีความหมายได้ เช่น ICT, COMPUTER, Network, internet เป็นต้น
          5) ประเภทของข้อมูล  เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภท ใหญ่ๆ ได้แก่
                    5.1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) คือข้อมูลที่ได้จากจากรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งไม่ได้คัดลอกจากบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้องทันสมัย และมันปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ เช่นข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การจดบันทึกข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ด (barcode reader) ข้อมูลจากเครื่องอ่านลายนิ้มมือ (fingerprint reader) เป็นต้น
                     5.2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) คือ ข้อมูลที่มีผู้รวบรวมหรือเรียบเรียงไว้แล้ว ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เช่น ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลปักปันเขตแดนจากกรมแผนที่ทหาร ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย เป็นต้น 

2.2 กระบวนการจัดการสารสนเทศ
             เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
      1) การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล
          1.1) การรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน ซึ่งใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านแป้นพิมพ์ตัวอักษร การอ่านข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ด การบันทึกเสียงผ่านไมโครโฟน (microphone) เป็นต้น
           1.2) การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ซึ่งหากผิดพลาดก็จะต้องแก้ไข โดยใช้สายตาคนหรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบ
       

  

      2) การประมวลผลข้อมูล  ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
             2.1) การจัดกลุ่มข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บควรจดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อเตรียมใช้งานต่อไป
             2.2) การจัดเรียงข้อมูล  เมื่อจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ควรจัดเรียงข้อมูลที่มีความสำคัญตามลำดับตัวเลขหรืออักขระเพื่อสะดวกประหยัดเวลาในการหาข้อมูล
             2.3) การสรุปผลข้อมูล  หลังจากจัดเรียงความสำัคัญของข้อมูลต่างๆแล้ว ควรสรุปข้อมูลเหล่าั้นั้นให้กระชับและได้ใจความสำคัญ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป


       3) การจัดเก็บและดูแลรักษาข้อมูล  ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
              3.1) การเก็บรักษาข้อมูล  การนำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ทัมบ์ไดรฟ์ (thumb drive)  เป็นต้น
              3.2) การทำสำเนาข้อมูล  การคัดลอกข้อมูลจากต้นฉบับเพื่อเก็บรักษา หากข้อมูลต้นฉบับเสียหาย ก็สามารถนำข้อมูลที่ทำสำเนาไว้มาใช้ได้ในทันที

       4) การแสดงผลข้อมูล
              4.1) การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เพราะหากได้รับข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและทันเวลา ผู้ใช้งานก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ ทั้งนี้การสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลก็จะต้องมีประสิทธิภาพด้วย
               4.2) การปรับปรุงข้อมูล  หลังจากที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไปแล้ว ก็ควรติดตามผลตอบกลับ (feedback) เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แลควรจัดเก็อย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการใช้งาน

2.3 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
       1) ระบบเลขฐานสอง
            การสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลหรือสั่งงานจะต้องอาศัยระบบเลขฐานสอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนตัวเลขศูนย์ (0) และหนึ่ง (1) โดยแต่ละหลักจะเรียกว่า "บิต" (Binary Digit: Bit) และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมาเรียงต่อกัน 8 บิต (bit) เท่ากับ 1 ไบต์ (byte) จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษได้
       
         2) รหัสแทนข้อมูล 
              เพื่อให้การแลกเปลี่่ยนข้อความระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้น โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
              2.1) รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange: ASCII)  เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์ แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน
              2.2) รหัสยูนิโค้ด (Unicode) เป็นรหัสแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสองจำนวน 16 บิต เนื่องจากตัวอักษรบางประเภทเป็นตัวอักษรแบบรูปภาพ เช่น ภาษจีนและภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต จะแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างรหัสใหม่ขึ้นมาแทน โดยแทนตัวอักขระได้ 65,536  ตัว และยังใช้แทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย
         3) การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
             ในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ จะต้องกำหนดรูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
              3.1) บิต (bit)  คือ  ตัวเลขหลักใดหลักหนึ่งในะบบเลขฐานสอง (0 กับ 1) ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
              3.2) ตัวอักขระ (character)  คือ ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใดๆ โดยตัวอักขระแต่ละตัวจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์ ในการแทนข้อมูล เช่น 0100  0001 ใช้แทนตัวอักขระ A เป็นต้น
              3.4) เขตข้อมูล (field)  คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระเรียงต่อกัน เพื่อแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง
              3.5) ระเบียนข้อมูล (record)  คือ กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 1 เขตข้อมูลขึ้นไป
              3.6) แฟ้มข้อมูล (file)  กลุ่มของระเบียบข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน  ตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป  
              3.7) ฐานข้อมูล (database)  เป็นที่รวบรวมแฟ้มข้อมูลหลายๆแฟ้มเข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันโดยใช้เขตข้อมูลที่เหมือนกันเป็นตัวเชื่อมระหว่างกัน   

2.4) จริยธรรมในการใช้ข้อมูล
        ประเด็นต่างๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ข้อมูล มีดังนี้
        1) ความเป็นส่วนตัว
            ความเป็นส่วนตัว (privary) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกครั้งต้องคำนึงถึงข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง เช่น หมายเลขบัตร ATM หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งหากข้อมูลเหล่านี้ถูกพวกมิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ข้อมูลได้
        2) ความถูกต้อง
            ความถูกต้อง (accuracy) ก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องเสียก่อน เพราะถ้าผูรับข้อมูลได้ข้อมูลที่ผิด ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้เลย ซึ่งต้องเสียเวลาหาข้อมูลใหม่
        3) ความเป็นเจ้าของ 
            ความเป็นเจ้าของ (property) การละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จะทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจต่อเจ้าของข้อมูล ผูใช้จึงควรระมัดระวังในการนำข้อมูลต่างๆมาใช้งาน ว่าได้รับอนุญาติจากเจ้าของข้อมูลหรือไม่ ซึ่งหากละเมิดลิขสิทธิ์ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
        4) การเข้าถึงข้อมูล 
            การเข้าถึงข้อมูล (accessibility) การใช้งานคอมพิวเตอร์มักมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ก็เพื่อป้องกันและรักษาความลับของข้อมูล ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว

คำถาม  ระบบเลขฐานสองมีวิธีคิดอย่างไร?


  
   



       
                     
                       

      
                    


    
  

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1  ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ "เทคโนโลยี" "สารสนเทศ" และ "การสื่อสาร" ซึ่งมีความหมาย ดังนี้
   เทคโนโลยี(technology)
การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่คนในสังคม

สารสนเทศ(information)

ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลอย่างมีระบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ

การสื่อสาร(communication)
การส่งข้อมูลข่าวสารโดยอาศัยสื่อตัวกลาง  จากบุคคลหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งหรืออีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฎิกิริยาตอบสนองให้เป็นไปตามที่ผ้ส่งข่าวต้องการ

           เทคโนโลยีสารสนเทศ
                    เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology : IT) มาจากคำว่า "เทคโนโลยี" กับ "สารสนเทศ" เชื่อต่อกัน หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการกับข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน หรือแก้ปัญหาต่างๆ ให้แก่บุคคลหรือองค์กร


              เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม เพื่อผลิต เผยแพร่ และจัดเก็บสื่อสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ เสียง เป็นต้น
   
1.2 ระบบสารสนเทศ
               ระบบสารสนเทศ (information system) เป็นระบบที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ และจัดการกับข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 5 ส่วนสำัคัญ คือ
                 1) ฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสารสนเทศ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ 

                2)ซอฟต์แวร์ (software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งการให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานตามคำสั่งของผู้ใช้ภายใต้ขอบเขตที่คอมพิวเตอร์นั้นๆสามารถทำได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
                       -ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) เป็นชุดคำสั่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นการทำงานต่างๆได้

                        -ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์ใช้กับงานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน 

                3)ข้อมูล(data) ข้อมูลต้องสมบูรณ์ ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ  ทั้งนี้การจัดเก็บข้อมูลจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นระบบเพื่อให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็วและมีประิสิทธิภาพ 
                 4)บุคลากร(people) ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์โดยแบ่งออกเป็นผู้พัฒนาและผู้ใช้ระบบสสารสนเทศ
  
                 5)ขั้นตอนการปฎิับัติงาน(procedure) ผู้ใช้ต้องทำตามระเบียบการทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ 
   
1.3 ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       1) ด้านการศึกษา
            ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ และยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
        
         2) ด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
              ข้อมูลจำนวนมากได้ถูกรวบรวมและบันทึกไว้ในรูปของสื่อบันทึกข้อมูลประเภทต่างๆเช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม
           
          3) ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
              การสื่อสารแบบไร้สายมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่ต้องการความสะดวกสบายและรวดเร็ว เช่น การหาข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้โทรศัพท์ติดต่อกัน การส่ง e-mail ถึงกัน เป็นต้น
  
           4) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                การวิจัยและการทดลองวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งสิ้น เช่น การวิจัยด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์ งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ทีมีการออกแบบโครงสร้างที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เป็นต้น

            5) ด้านความบันเทิง
                 รูปแบบการนำเสนอที่ตอบสนองความต้องการทั้งภาพและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่างๆที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้ได้รับความนิยมแพร่หลาย เช่น การดูโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การดูภาพยนตร์ผ่านมือถือ การเล่นเกมส์ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

                     นอกจากประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีก เข่น ด้านสิ่งพิมพ์ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านวามมั่นคง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำมาปรับใช้ให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

1.4 แนวโน้วการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
               - เทคโนโลยีแบบไร้สายทำให้การสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
               - มีการใช้ระบบเสมือนจริงผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม
               - อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะมีขนาดกะทัดรัดราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
               - การวางแผน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจของคนจะถูกแทนที่โดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ
               - ด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้มีช่องทางการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
               - หน่วยงานหรือองค์กรจะมีขนาดเล็กลง แต่จะปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายระหว่างหน่อยงานย่อยๆเพิ่มมากขึ้น
             
           แนวโน้วด้านอื่นๆยังมีอีกมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจะได้พัฒนาให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต

1.5 ผลกระทบจากการใช้งานเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร
                 - พฤติกรรมเลียนแบบจากเกมที่ใช้ความรุนแรง อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้
                 - การใช้ชีวิตของสังคมเมืองเปลี่ยนไป ทำให้การพบปะของผู้คนน้อยลง ส่งผลให้สัมพันธภาพทางสังคมลดน้อยลงตามไปด้วย
                 - การเข้าถึงข้อมูลระบบเครือข่ายที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการโจรกรรมเพิ่มมากขึ้น
                 - ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้การผลิตของผิดกฎหมายและละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น
                 - การส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ บนระบบเครือข่าย เช่น E-mail  Facebook ถ้าผู้ส่งไม่ระมัดระวังอาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลได้
                 - เมื่อเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารพัฒนาขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้วสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่มีมาตราการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้

1.6 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                   - นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์(programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ เช่น โปรแกรมฐานข้อมูลคลังสินค้า โปรแกรมการคำนวณทางด้านวิศกรรม  เป็นต้น
                   - นักวิเคราะห์ระบบ(system analyst) ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
                   - ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (network administrator) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบเครือข่าย และดูแลความปลอดภัยระบบเครือข่ายภายในองค์กร
                   - ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster) ทำหน้าที่ดูแลและคอยควบคุมทิศทางของเว็บไซต์ตั้งแต่เนื้อหาภายในเว็บไปจนถึงหน้าตาของเว็บเพจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
                   - เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician) ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
             
             นอกจากนี้ ยังมีอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอีกมากมาย เช่น ผู้ดูแลและบริหารระบบ (system administrator)  นักเขียนเกม(game maker)  นักออกแบบเว็บไซต์(web designer)  นักพัฒนาเครื่องมือ(tool developers)  นักประชาสัมพันธ์(publicist) เป็นต้น
 
ตอบคำถามซอฟแวร์ประยุกต์
     Adobe Photoshop มีความสามารถคร่าวๆอย่างไรบ้าง


ตอบ  
          โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบ Raster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพเล็กน้อย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ
         โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน